ความหมาย
กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า "สุภาพ" นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง "รูปวรรณยุกต์" ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
ประวัติความเป็นมา
คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน
ลักษณะของกลอนสุภาพ
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่งแต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญกำหนดได้ดังนี้คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง คำท้ายวรรครับกำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี คำท้ายวรรครองกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี คำท้ายวรรคส่งกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ) คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้ หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
กฎของกลอนแปด
การสัมผัส
ให้คำสุดท้ายวรรคแรก(วรรคสดับ) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒(วรรครับ) ให้คำสุดท้ายวรรคที่สอง(วรรครับ) ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓(วรรครอง)ให้คำสุดท้ายของวรรคที่สาม
(วรรครอง) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)การสัมผัสระหว่างบท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การสัมผัสเชื่อมร้อยระหว่างบท” การเชื่อมสัมผัสระหว่างบท ให้คำสุดท้ายของวรรคทึ่สี่ คือ วรรคส่ง ไปสัมผัส กับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง คือวรรครับของบทถัดไป ให้แต่งเชื่อมบทอย่างนี้ เรื่อยไปจนจบเนื้อความตามที่ต้องการการบังคับสัมผัส มีข้อบังคับสัมผัสนอก ๓ แห่ง คือ ในบท ๒ แห่ง และสัมผัสเชื่อมระหว่างบท ๑ แห่ง และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะสัมผัสสระ หรือพยัญชนะเพื่อความไพเราะในบทเดียวกัน ก็จักทำให้กลอนแต่ละบทมีความไพเราะเสียงกลมกลืนยิ่งขึ้นข้อบังคับ เรื่องการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค มีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมสามัญ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ และตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ใช้เสียงสามัญ หรือ ตรี ห้ามเสียง เอก โท จัตวา ส่วนมากนิยมเสียงสามัญ
ให้คำสุดท้ายวรรคแรก(วรรคสดับ) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒(วรรครับ) ให้คำสุดท้ายวรรคที่สอง(วรรครับ) ไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓(วรรครอง)ให้คำสุดท้ายของวรรคที่สาม
(วรรครอง) ไปสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)การสัมผัสระหว่างบท หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การสัมผัสเชื่อมร้อยระหว่างบท” การเชื่อมสัมผัสระหว่างบท ให้คำสุดท้ายของวรรคทึ่สี่ คือ วรรคส่ง ไปสัมผัส กับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง คือวรรครับของบทถัดไป ให้แต่งเชื่อมบทอย่างนี้ เรื่อยไปจนจบเนื้อความตามที่ต้องการการบังคับสัมผัส มีข้อบังคับสัมผัสนอก ๓ แห่ง คือ ในบท ๒ แห่ง และสัมผัสเชื่อมระหว่างบท ๑ แห่ง และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะสัมผัสสระ หรือพยัญชนะเพื่อความไพเราะในบทเดียวกัน ก็จักทำให้กลอนแต่ละบทมีความไพเราะเสียงกลมกลืนยิ่งขึ้นข้อบังคับ เรื่องการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ ในคำสุดท้ายของแต่ละวรรค มีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมสามัญ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ และตรี นิยมใช้ จัตวา เป็นส่วนมาก คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี ห้ามใช้ เอก โท จัตวา คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ใช้เสียงสามัญ หรือ ตรี ห้ามเสียง เอก โท จัตวา ส่วนมากนิยมเสียงสามัญ
การแต่งกลอนสุภาพให้ไพเราะ
อ้างอิง
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiE1LbcyovWAhXCv48KHeZvCd4Q_AUICigB#imgrc=nFegRfQ7blGneM:
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%88&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiwkKuT2IvWAhUjS48KHYTRDdoQ_AUICigB&biw=1094&bih=510#imgrc=OYFe2Qg2i4nl5M:
https://web.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-1248520438609476/
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%88&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiwkKuT2IvWAhUjS48KHYTRDdoQ_AUICigB&biw=1094&bih=510#imgrc=OYFe2Qg2i4nl5M:
https://web.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-1248520438609476/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น