Mobile Payment คือ การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือ โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อในการโอนเงิน หรือชำระเงินให้แก่ร้านค้า รวมทั้งการชำระค่าสินค้าหรือบริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ลักษณะการใช้งานของ Mobile Payment
+ แหล่งเงินที่ผู้ใช้บริการจะต้องเลือกและสมัครเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับโทรศัพท์มือถือ เพื่อตัดเงินเมื่อทำรายการ ได้แก่ บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์
(e-Money)
(e-Money)
+ รูปแบบ Mobile Payment ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บริการ Mobile banking ของธนาคาร (โอนเงิน หรือชำระค่าสินค้าและบริการ) และบริการ mPay และ True Money ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ e-Money ผ่านโทรศัพท์มือถือ
+ เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูลของบริการ Mobile Payment อาทิ ส่ง SMS ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ วิธีการ WAP (Wireless Application Protocal) หรือ HTTP (Hypertext Transfer Protocal) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเทคโนโลยี RFID (Radio-Frequency Identification) ซึ่งจะใช้เครื่องรับคลื่นสัญญาณวิทยุระยะใกล้ ณ จุดขาย ส่งข้อมูลไปยังชิพหรือสมาร์ทการ์ดในโทรศัพท์มือถือ
ประเภทของ Mobile Payment
- กลุ่มบัตรเครดิตเสมือน
ผู้ให้บริการกลุ่มนี้มองว่าสมาร์ทโฟนทำตัวเป็นบัตรเครดิตเสมือน (Virtual Credit Card) ใช้จ่ายเงินได้ราวกับว่าเป็นบัตรเครดิตจริงๆ ส่วนรูปแบบการใส่เงินก็ดึงจากวงเงินเครดิตในบัตรจริงได้เลย กระบวนการออกบัตร กำหนดวงเงิน จ่ายหนี้ค่าบัตรเครดิต ยังเป็นความรับผิดชอบของธนาคารผู้ออกบัตรเหมือนเดิม
ผู้ให้บริการกลุ่มนี้ ตอนนี้ในบ้านเรามี Samsung Pay เปิดบริการแล้ว ส่วนในต่างประเทศมีคู่แข่งอย่าง Apple Pay และ Android Pay ที่ยังไม่เข้ามาในบ้านเราทั้งคู่
ผู้ให้บริการทุกราย สามารถสื่อสารระหว่างมือถือกับเครื่องจ่ายเงินด้วยเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ NFC ซึ่งไม่ใช่ว่าเครื่องรูดบัตรทุกเครื่องจะรองรับ ในแง่ความครอบคลุมจึงมีค่อนข้างน้อย แต่กรณีของ Samsung Pay จะพิเศษอยู่บ้าง เพราะซัมซุงซื้อบริษัทที่มีเทคโนโลยีส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไปยังเครื่องรูดบัตรที่เป็นแถบแม่เหล็กแบบเก่าได้ด้วย ดังนั้นในทางทฤษฎีแล้ว Samsung Pay ก็ใช้งานได้กับเครื่องรูดบัตรแทบจะทุกเครื่องในบ้านเรา (ส่วนในทางปฏิบัติ คนรูดบัตรจะตกใจหรือไม่คุ้นเคย ก็เป็นอีกเรื่องนึงนะครับ) ตรงนี้ถือเป็นจุดเด่นของ Samsung Pay ที่สามารถนำไปใช้ได้กว้างขวางกว่าคู่แข่งมาก
ปัญหาของ Samsung Pay คงเป็นว่านี่คือเทคโนโลยีปิด มีใช้เฉพาะสมาร์ทโฟนของซัมซุงค่ายเดียวเท่านั้น (เหตุผลคือซัมซุงต้องการให้เป็นจุดขาย เป็นเหตุผลที่คนมาเป็นลูกค้าซัมซุง) ในช่วงที่ Apple Pay และ Android Pay ยังไม่เข้ามาในบ้านเรา ฐานผู้ใช้งานที่สามารถใช้ได้จึงอาจไม่เยอะนัก
- กลุ่ม Mobile Wallet
แนวคิดของกลุ่มนี้คือเรานำ “เงิน” ใส่ลงไปในกระเป๋าเงินเสมือนผ่านวิธีการต่างๆ เช่น ซื้อบัตรเติมเงิน โอนเงินจากบัญชีธนาคาร-บัตรเครดิต จากนั้นค่อยนำมูลค่าเงินเหล่านี้ไปจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าตามแต่ที่ร้านค้าแต่ละรายจะรองรับบริการจ่ายเงินเจ้านั้นๆ
ผู้ให้บริการกลุ่มนี้มีจำนวนเยอะที่สุด เช่น True Money, AIS mPay, AirPay, PaySocial, Rabbit LINE Pay เป็นต้น
ถ้าลองสังเกตจะพบว่ากลุ่มผู้ให้บริการ Mobile Wallet มักมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจที่ลูกค้าจ่ายเงินให้บริษัทไว้เป็น “เครดิต” ก่อน จากนั้นค่อยนำเครดิตไปซื้อสินค้าหรือบริการอีกที เช่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (กรณีของ AIS, dtac, True มีระบบ Wallet ทั้งสามราย) ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ (AirPay ของบริษัท Garena เป็นตัวอย่างที่ดี) ไปจนถึงผู้ให้บริการสาธารณูปโภค (Rabbit LINE Pay ที่ผูกกับบัตร Rabbit ของรถไฟฟ้า BTS) เหตุผลก็คงเป็นว่าบริษัทเหล่านี้มีสายสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้บริโภคอยู่แล้ว การขยับขยายนำเงินที่ไหลผ่านระบบเดิม ให้มาอยู่บน Wallet ย่อมไม่ยากนัก
ในอีกฝั่ง ความท้าทายของผู้ให้บริการ Mobile Wallet คือการนำเงินในกระเป๋าเสมือนไปใช้จ่ายตามร้านค้าต่างๆ ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายก็ต้องไปสร้างพันธมิตรธุรกิจให้เยอะที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภคสะดวกกับการนำ Wallet ไปใช้จ่าย
ปัจจุบันเราเห็นการใช้ Wallet จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์กันค่อนข้างเยอะพอสมควร (ถ้าไม่รวมถึงธุรกิจในเครือตัวเอง) เช่น จ่ายบิลค่าสาธาณูปโภค สินเชื่อ ประกันภัย แต่การนำไปจ่ายซื้อสินค้าออฟไลน์ อาจยังจำกัดวงอยู่บ้างเฉพาะร้านแบรนด์ดังที่มีสาขามากๆ อย่าง McDonald’s หรือ 7-Eleven เท่านั้น
ต้นแบบของบริการ Wallet ที่ใช้งานในโลกออฟไลน์ได้อย่างครบวงจร ย่อมหนีไม่พ้นประเทศจีนที่บริการ Alipay ของกลุ่ม Alibaba และ WeChat Pay ของกลุ่ม Tencent แทบใช้งานได้ครอบจักรวาล ไปที่ไหนก็ใช้งานได้โดยแทบไม่ต้องมีเงินสดเลย ส่งผลให้ความนิยมของผู้บริโภคก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ตรงนี้ถือเป็นความท้าทายของผู้ให้บริการกลุ่ม Mobile Wallet ในไทยที่จะต้องหาวิธีขยับขยายช่องทางการใช้งานให้มากขึ้น ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ TrueMoney ที่ไปจับมือกับ MasterCard ออกบัตรเดบิตเสมือน WeCard ที่สามารถนำไปใช้จ่ายเงินออนไลน์ได้เหมือนกับบัตรเดบิตจริงๆ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแล้ว ผู้ให้บริการไทยยังต้องผ่านด่านอีกมาก กว่าจะพัฒนาความนิยมให้สูงได้เท่ากับในจีน
- กลุ่มธนาคาร
จุดเด่นของผู้ให้บริการกลุ่มนี้คือผู้บริโภคมีเงินเก็บอยู่ในบัญชีธนาคารอยู่แล้ว การนำเงินเข้าไปใส่ในระบบจึงง่ายมาก แทบไม่ต้องทำอะไรเลย ส่งผลให้แอพ Mobile Banking ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้การจ่ายเงินผ่านแอพ Mobile Banking อาจไม่ได้ผ่าน payment gateway ในทุกกรณีเสมอไป แต่เป็นการโอนเงินระหว่างบุคคลซะมาก (โดยเฉพาะการซื้อของกับพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย) แต่ในมุมมองของผู้บริโภคแล้วอาจไม่แตกต่างกันเลย (เงินไปถึงพ่อค้าแม่ค้าเหมือนกัน) ผมได้ยินว่าปัจจุบันตลาดนัดหลายแห่งก็ยอมรับการโอนเงินผ่านแอพของธนาคารแล้ว ไปซื้อของโดยไม่ต้องใช้เงินสด
ปัจจัยที่สำคัญคือ การมาถึงของ PromptPay ย่อมทำให้การโอนเงินผ่าน Mobile Banking แพร่หลายเข้าไปอีก เพราะเราไม่ต้องเสียเวลาเพิ่มบัญชีของผู้รับเงินในตัวแอพ แค่กรอกหมายเลขโทรศัพท์ในช่องผู้รับโอนก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว
- กลุ่มบัตรจ่ายเงินเฉพาะทาง
ผู้ให้บริการกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายกลุ่มที่ 2 คือเราต้อง “เติมเงิน” เป็นเครดิตเก็บไว้ก่อน เพียงแต่เครดิตจะสามารถใช้ได้เฉพาะร้านค้าสาขาของผู้ให้บริการเท่านั้น
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ Starbucks Card ที่เราจ่ายเงินซื้อบัตรเติมเงิน แล้วนำมูลค่าของบัตรไปใส่ไว้ในแอพ เมื่ออยากกินกาแฟ Starbucks ก็เดินไปที่ร้านและเปิดแอพจ่ายเงินได้เลย ไม่ต้องใช้เงินสด
ข้อเสียของ Starbucks Card คือมันสามารถใช้ได้เฉพาะร้าน Starbucks เท่านั้น แต่เนื่องจาก Starbucks เป็นร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดในโลก มีลูกค้าจำนวนมหาศาล จำนวนผู้ใช้บัตร Starbucks Card และเงินที่เติมเข้าไปในระบบจึงเยอะมากจนมีนัยสำคัญต่อวงการ จากการประเมินของ Wall Street Journal ในปี 2016 คาดว่า Starbucks มี “เงินฝาก” สูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์ (นับเฉพาะลูกค้าในสหรัฐเท่านั้นซะด้วย) เยอะกว่าเงินฝากในธนาคารขนาดเล็กหลายรายด้วยซ้ำ
ในต่างประเทศมีร้านอาหารอย่าง Dunkin Donut หรือซูเปอร์มาร์เก็ต Walmart ที่มีระบบจ่ายเงินในลักษณะนี้ แต่เมืองไทยเอง เท่าที่ผมทราบ นอกจาก Starbucks Card แล้วยังไม่มีรายไหนที่พบได้ทั่วไป หรือไม่อย่างนั้นก็คือกลุ่มที่ขยายตัวเป็นผู้ให้บริการแบบที่ 2 (เงินที่เติมนำไปจ่ายบริการอย่างอื่นได้ด้วย)
ข้อดีของ Mobile Payment
ข้อควรระวังของ Mobile Payment
+ หลีกเลี่ยงการตั้ง PIN/Password ที่ง่ายต่อการคาดเดา และต้องเก็บรักษา User ID และ Password ให้เป็นความลับส่วนบุคคล พร้อมทั้งเปลี่ยน Password เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
+ ไม่ควรละเลย SMS หรืออีเมลที่ได้รับจากธนาคาร และควรตรวจสอบยอดเงินคงเหลือทุกครั้งที่มีการชำระเงิน
+ ควรศึกษารูปแบบธุรกรรมและวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ผู้ให้บริการเสนอก่อนตัดสินใจใช้บริการ
+ ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะกรณีที่ใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
+กรณีที่ใช้บริการ Mobile Payment โดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ควรตรวจสอบโปรโมชั่นและค่าใช้จ่ายจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใช้ และเลือกโปรโมชั่นที่เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างการใช้ Mobile Payment
อ้างอิง
https://www.google.co.th/search?biw=1094&bih=510&tbm=isch&sa=1&q=Mobile+Payment&oq=Mobile+Payment&gs_l=psy-ab.3...13159.13159.0.13292.1.1.0.0.0.0.0.0..0.0....0...1.1.64.psy-ab..1.0.0.Z17ZgKim9fU#imgrc=zK1ELabfwDjvZM:
http://dv.co.th/blog-th/mobile-payment-landscape-mark-blognone/
https://www.google.co.th/search?q=PAY+SAMSUNG&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjO75798pDWAhXFNI8KHd_XBUQQ_AUICygC&biw=1094&bih=462#imgrc=fPfR9wcEbVLGVM:
https://www.google.co.th/search?biw=1094&bih=462&tbm=isch&sa=1&q=PAY&oq=PAY&gs_l=psy-ab.3...8514.8514.0.8691.1.1.0.0.0.0.0.0..0.0....0...1.1.64.psy-ab..1.0.0.HMSfG2_qpEY#imgdii=QnkcFkNq7frx_M:&imgrc=fLGLLPHsW5hc6M:
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1+Mobile+Wallet&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwj8x6Tw85DWAhULvo8KHdbtD88Q_AUICigB&biw=1094&bih=462&dpr=1.25#imgrc=ak2cei2oNIbuGM:
https://www.google.co.th/search?biw=1094&bih=462&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3+PAY&oq=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3+PAY&gs_l=psy-ab.3...2008.2218.0.3218.4.2.0.0.0.0.225.225.2-1.1.0....0...1.1.64.psy-ab..3.0.0.KuPpFeH6QKM#imgrc=esw_oIDrmhhenM:
https://www.google.co.th/search?q=Mobile+Payment+%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiFs_y77pDWAhWBqY8KHWlgAT0Q_AUICigB&biw=1094&bih=510#imgrc=sJBpKgUD5GQ53M:
https://www.youtube.com/watch?v=mck9lBF4bMc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น